Wednesday, March 4, 2009

โครงการส่งเสริมอาชีพ


โครงการส่งเสริมอาชีพ
ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริในการดำเนินงานพัฒนาต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ด้อยโอกาสซึ่งอาศัยอยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกลการคมนาคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา โดยทรงเริ่มต้นพัฒนาที่เด็กและเยาวชน ด้วยโครงการต่างๆ อาทิ เช่น โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ โครงการส่งเสริมสหกรณ์ โครงการฝึกอาชีพ และโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น อย่างไรก็ตามทรงตระหนักว่าการพัฒนาเด็กและเยาวชนแต่เพียงกลุ่มเดียวไม่สามารถทำให้เกิดความมั่นคงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารได้ จำเป็นต้องสนับสนุนครอบครัวของเด็กและเยาวชนเหล่านั้น ให้ประกอบอาชีพมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงดูครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอาหารและการศึกษาของลูกหลาน ดังนั้นในปี พ.ศ. 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำ โครงการส่งเสริมอาชีพ สำหรับประชาชนในถิ่นทุรกันดารขึ้น ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้ประชาชนประกอบอาชีพเสริมนอกเหนือจากการทำเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลัก โดยได้พระราชทานความช่วยเหลือทั้งในด้านการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือ พระราชทานเงินทุนสำหรับดำเนินงาน และจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็น รวมทั้งทรงช่วยหาตลาดในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นด้วย โดยโปรดเกล้าฯ ให้รับผลิตภัณฑ์ต่างๆมาช่วยจัดจำหน่ายในกรุงเทพฯ หรือในเมืองใหญ่ๆ นอกเหนือจากที่ประชาชนจัดจำหน่ายเองในท้องถิ่น
ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 จนถึงปีพ.ศ. 2547 มีกลุ่มอาชีพฯ เกิดขึ้นทั้งหมด 48 กลุ่มโดยกระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ มีประชาชนในถิ่นทุรกันดารเข้าร่วมเป็นสมาชิกรวมทั้งสิ้น 1,198 คน สำหรับผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มอาชีพฯ ดำเนินการผลิตมีหลากหลายประเภท สามารถจำแนกออกได้เป็น 6 ประเภท ในแต่ละประเภทยังจำแนกเป็นกลุ่มย่อยตามลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละแห่ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ประเภทที่ 1
ผ้าฝ้ายและผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย 19 กลุ่ม 484 คน
กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้ากะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติ 13 กลุ่ม 194 คนกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอ 6 กลุ่ม 290 คน

ประเภทที่ 2
เครื่องจักสานและแกะสลัก12 กลุ่ม 303 คน
กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้กวาด 6 กลุ่ม 70 คนกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสาน 5 กลุ่ม 211 คนกลุ่มผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว 1 กลุ่ม 22 คน

ประเภทที่ 3
แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร6 กลุ่ม 176 คน

ประเภทที่ 4
ผ้าไหมและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหม 4 กลุ่ม 114 คน

ประเภทที่ 5
ผลิตภัณฑ์ตัดเย็บเสื้อผ้า4 กลุ่ม 54 คน

ประเภทที่ 6
ผลิตภัณฑ์ปักและตกแต่งผ้า3 กลุ่ม 67 คน
กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าปัก 2 กลุ่ม 47 คนกลุ่มผลิตภัณฑ์บาติก 1 กลุ่ม 20 คน


ที่มา .. http://www.phufa.org/about_project_th.htm

No comments:

Post a Comment